Blog

อยากทำงานบนเรือสินค้า มาทำความรู้จักประเภทของเรือสินค้ากันดีกว่า

เรือลำใหญ่ที่ใช้ในการบรรทุกสินค้านั้นประกอบด้วยชิ้นส่วนโครงสร้างที่มองเห็นและมองไม่เห็น ผลิตจากเหล็กกล้าและวัสดุหลายอย่าง มีเรือบรรทุกสินค้าหลายประเภท ซึ่งมีวัตถุประสงค์ต่างกันออกไปตามวิธีการขนส่งสินค้าทางทะเล สำหรับผู้ที่สนใจไปทำงานบนเรือ เรามาทำความรู้จักประเภทของเรือสินค้าต่าง ๆ กันไว้แต่เนิ่น ๆ ก่อนดีกว่า

ประเภทของเรือสินค้า

เรือบรรทุกตู้สินค้า (Container Vessels)

ออกแบบมาเพื่อขนส่งสินค้าที่บรรจุอยู่ในตู้สินค้า ซึ่งเหมาะกับสินค้าแห้ง ใช้ปั้นจั่นชนิดขาหยั่งชักรอกในการบรรทุกตู้สินค้าลงเรือและขึ้นจากเรือ เรือบรรทุกตู้สินค้านิยมใช้กับการขนส่งตู้สินค้ามาตรฐานขนาด 20 ฟุต 40 ฟุต และ 45 ฟุต มีประสิทธิภาพการขนส่งเทียบเท่ากับ 20 TEU (เช่น ตู้สินค้า เอ 1 TEU จุสินค้าได้ 21 ตัน) ขนาดที่ใช้มากที่สุดคือ 1 x 20 ฟุต แต่ก็มีที่ใหญ่และเล็กกว่านี้ จำนวนตู้สินค้าบนเรือจึงแตกต่างกันที่ + และ – 250 ตู้

เรือสินค้าเทกอง (Bulk Vessels)

ออกแบบเพื่อตอบโจทย์การขนส่งสินค้าประเภทแห้ง โดยเฉพาะพวกแหล่งพลังงานอย่างถ่านหิน และแร่ ปุ๋ย น้ำตาล รวมทั้งธัญพืช
มีหลายขนาดและออกแบบให้สอดรับกับความต้องการขนส่งสินค้า ต่างจากเรือสินค้าอื่นที่ใช้เครนนำสินค้าลงเรือและขึ้นจากเรือ
เพราะเรือนี้ใช้เครื่องชักหรือสายพานลำเลียง และแม้จะเดินทางช้า แต่สามารถบรรทุกน้ำหนักสินค้าที่ระดับปลอดภัยได้ถึง 200,000 DWT

เรือขนส่งสินค้าที่เป็นหีบห่อหรือเป็นชิ้น (Break Bulk Vessels)

คือเรือเดินสมุทรที่นิยมใช้ในการขนส่งสินค้าทั่วไป ซึ่งในอีกความหมายหนึ่งคือ กลุ่มที่ต้องการบรรทุกของลงเรือโดยไม่ใช้ตู้สินค้า ใช้เส้นทางหลักในการขนส่งทางทะเล บรรทุกได้ทั้งสินค้าเหลวและสินค้าแห้ง ได้แก่ กระสอบน้ำตาล ปูนซีเมนต์ และแป้ง และใช้ขนส่งสินค้าที่มีการวางแท่นสินค้าด้วย อย่างสี สารเคมี ท่อนไม้

รือขนสินค้าชนิดที่ขนลงหรือขึ้นจากเรือด้วยสายพาน (Ro-Ro Vessels)

ใช้ขนส่งสินค้าประเภทเครื่องขุด รถบรรทุก รถบัส รวมทั้งรถยนต์ และยังใช้กับชุดการขนส่งสินค้าในโครงการก่อสร้างตามมูลค่าที่
กำหนดของการขนส่งในช่วงเวลาหนึ่งด้วย มีสองประเภทที่ใช้งานตามชื่อของมัน คือเรือบรรทุกรถยนต์และรถบรรทุก กับ เรือบรรทุกเฉพาะรถยนต์

เรืออเนกประสงค์ (Multi-purpose Vessels)

ใช้ส่งสินค้าหลายประเภทในลักษณะอเนกประสงค์ เป็นเรือส่งสินค้าชนิดธรรมดาที่สุด ขนส่งสินค้าหลากหลายประเภทในเรือลำเดียว
จึงไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าบริการส่งสินค้าแบบพิเศษ เป็นเรือที่มีความพร้อมในตัว เหมาะอย่างยิ่งกับเส้นทางที่ไม่มีท่าเรืออำนวยความสะดวก

เรือบรรทุกสินค้าที่เป็นของเหลว (Tanker Carriers)

ออกแบบสำหรับการบรรทุกสินค้าเหลวโดยเฉพาะ เหมาะที่สุดกับการขนส่งน้ำมันและสารเคมี โดยเฉพาะน้ำมันดิบ มีเรือประเภทนี้ทั้งขนาดใหญ่พิเศษ และใหญ่มาก ๆ

เรือบรรทุกแก๊ส (Gas Carriers)

มีลักษณะเด่นที่เทคโนโลยีอันซับซ้อนเพื่อเก็บรักษาแก๊ส คล้ายเรือบรรทุกน้ำมัน แบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือเรือบรรทุกแก๊สธรรมชาติเหลว (LNG) กับเรือบรรทุกแก๊สปิโตรเลียมเหลว (LPG) มีความแตกต่างกันที่การบรรทุกแก๊ส LPG ต้องใช้อุณหภูมิ -50
องศาเซลเซียส และความดัน 18 กก/ตร. ซม. ขณะที่การบรรทุกแก๊ส LNG ต้องเก็บที่อุณหภูมิ -170 องศาเซลเซียส นอกจากนี้เรือบรรทุกแก๊ส LNG ยังมีสัญลักษณ์เด่นสังเกตเห็นง่ายด้วยถังทรงกลมบนดาดฟ้าเรือ

เรือบรรทุกสิ่งมีชีวิต (Livestock Vessels)

เรือประเภทนี้บรรทุกสินค้าที่ต้องระแวดระวังมากเพราะเป็นสัตว์ที่ยังมีชีวิต มีความเฉพาะตรงที่มีพื้นที่เลี้ยงสัตว์ด้วย บางลำมีคอกกลางแจ้งแต่ส่วนมากทำระบบคอกปิด

ปัจจุบันนี้การขนส่งสินค้าด้วยเรือได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเป็นอีกทางเลือกที่ปลอดภัยและมีราคาไม่สูง เราจึงเห็นประเภทของเรือบรรทุกสินค้ามากมายตามวัตุกประสงค์ที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เหมือนกันก็คือ เรือบรรทุกสินค้าทุกประเภทล้วนต้องการคนเพื่อบังคับเรือและลำเลียงสินค้าสู่ที่หมายได้อย่างปลอดภัย จึงเป็นที่มาของหลักสูตรคนเดินเรือนั่นเอง

สำหรับหลักสูตรคนเดินเรือ หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อ หลักสูตรนายท้าย ของโรงเรียนสปีตตี้ มีจุดเด่นคือใช้เวลาเรียนไม่นาน และเรียนจบแล้วมีงานรองรับ เพราะว่าเรามีบริษัทจัดหางานอยู่ภายใต้การบริหารของผู้บริหารชุดเดียวกัน ดังนั้นโรงเราของเราจึงไม่เพียงแต่ดำเนินการเปิดหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ แต่ยังทำหน้าที่ส่งนักเรียนที่เรียนจบแล้วไปทำงานได้จริงอีกด้วย

ติดตามเรื่องราวดี ๆ ของการทำงานบนเรือได้ที่

Website:  https://www.speedynautical.ac.th

Fanpage: https://www.facebook.com/SpeedyNauticalSchool

Youtube: https://www.youtube.com/user/widsawanee

หรือแอดไลน์มาคุยกับทีมงานของพี่วินนี่ได้ที่ 

https://lin.ee/VwT7dvr